
ที่มาของภาพ
http://www.forbes.com/sites/sungardas/2015/04/08/home-security-2015-the-internet-of-things-iot-brings-innovation-and-danger/#621e418d1553แนวคิด Internet of Things แนวคิด Internet of Things ถูกคิดค้นขึ้นโดย Kevin Ashton ในปี 1999 ซึ่งเริ่มต้นจากโครงการ “Auto-ID Center” ในมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology จากเทคโนโลยี
RFID ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency Identification เป็นระบบที่นำเอาคลื่นวิทยุมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิด ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย ต่อมาในยุคหลังปี 2000
เทคโนโนโลยีต่างๆ ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เริ่มมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมาก และยังมีการใช้คำว่า Smart เกิดขึ้นเช่น Smart grid, Smart home, Smart device,
Smart network เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน โดย Kevin
ได้ให้นิยามไว้ว่า “Internet-like” ต่อมามีคำว่า “Things” เข้ามาแทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
Internet of Things คืออะไรIoT : Internet of Things (บางทีเรียก IoE : Internet of Everything) หรือ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง” หมายถึง การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถ
สั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร
อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
IoT มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2M ย่อมาจาก Machine to Machine คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ เทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์
และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ
และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย
ในปัจจุบันมีการนำ IoTมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ มากมาย เว็บไซต์ IoT Analytics ได้ทำการสำรวจและจัดอันดับ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตยอดนิยมหลักๆ
ได้แก่ สถิติการค้นหาใน Google การแชร์บน Twitter และ จากการที่มีคนพูดถึงบน Linkedin เรามาดูกันว่า 10 อันดับที่มีการประยุกต์ใช้มากสุดมีอะไรกันบ้าง

ที่มาของภาพ
https://iot-analytics.com/iot-applications-q2-2015/อันดับที่ 1 Wearables คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งและใช้งานบนส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อความสะดวกในการใช้งานเพราะสามารถนำติดตัวไปได้ทุกที่
ปัจจุบันมีการพัฒนาออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น นาฬิกา สายรัดข้อมือ และแว่นตา
อันดับที่ 2 Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อทำให้คุณภาพ ของประชากรดีขึ้น เช่น การจัดการพลังงานไฟฟ้า ระบบจัดการน้ำ จัดการขยะ เป็นต้น
อันดับที่ 3 Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะ หมายถึง การนำเทคโลยีมาควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหรือภายนอกบ้านได้ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย และความปลอดภัย เช่น ประตูอัตโนมัติ
เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว การเปิดปิดไฟอัตโนมัติ เป็นต้น
อันดับที่ 4 Industrial internet เป็นการใช้ IoT สำหรับอุตสาหกรรมและโรงงานการผลิต
อันดับที่ 5 Smart grid หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาบริหารจัดการควบคุมการผลิต ส่ง และจ่ายพลังงานไฟฟ้า
อันดับที่ 6 Connected car เป็นรถยนต์อัจริยะที่มีการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย
อันดับที่ 7 Connected health เป็นแนวคิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงชุมชนเข้ากับระบบสุขภาพแบบครบวงจร
อันดับที่ 8 Smart farming หรือฟาร์มอัจฉริยะ คือ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับงานด้านเกษตร
อันดับที่ 9 Smart retail เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจห้างร้าน
อันดับที่ 10 Smart Supply Chain คือ การจัดการในส่วนของกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้ขาย
อ้างอิง [1] Internet of thing (IoT) [อินเตอร์เน็ต], [อ้างถึงวันที่ 6 กันยายน 2559], เข้าถึงได้จาก
http://www.sat2you.com/site/?p=2678[2] IoT คืออะไร อะไรคือ Internet of thing (IoT) Past II [อ้างถึงวันที่ 5 กันยายน 2559], เข้าถึงได้จากhttp://www.zolkorn.com/article/knowledge/what-is-the-internet-of-things-iot-part-ii/
[3] 10อันดับการประยุกต์ใช้ Internet of thing [อ้างถึงวันที่ 6 กันยายน 2559], เข้าถึงได้จาก
http://www.bangkokgis.com/bangkokgis_2008/system_file/-t1439539799.pdfhttp://www.mcuthailand.com/articles/iot/IOT.html