เช็คระบบปั๊มน้ำปกติมั๊ย เช็คสีของใบผิดปกติมั๊ย เช็คค่า EC,PH เช็ครากของผักแข็งแรงมั๊ยสีต้องขาว



ค่า pH ที่เหมาะสมกับฤดูกาล ช่วงฤดูหนาว ควรปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ที่ระดับ 5.5-6.0 ค่า EC 1.5-1.6 เพราะในฤดูหนาวมีโรครบกวนน้อยจึงปลูกผักที่ pH ระดับต่ำที่เหมาะกับการเจริญเติบโตได้
ช่วงฤดูฝน ควรปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ที่ระดับ 5.5 ค่า EC 1.6-1.7 เพราะในฤดูฝนสารละลายอุ่นขึ้นแต่ยังจะไม่ร้อนมากเหมือนในฤดูร้อน
ช่วงฤดูร้อน ควรปรับ pHของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ที่ระดับ 6.5-6.8 ค่า EC 1.2-1.4 เพราะในฤดูนี้สารละลายอุ่นขึ้นมาก ในสภาพที่มี pH ค่อนข้างสูงเช่นนี้ การใช้ไตรโคเดอร์มาและเหล็กคีเลทชนิดที่ทน pH สูงได้ดังที่จะกล่าวต่อไปภายหลังเป็นสิ่งที่จำเป็น ขอแนะนำให้อ่านบทความเรื่องการปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารในฤดูต่างๆ ของคุณอรรถพร สุบุญสันต์ และบทความทางด้านการใช้ไตรโคเดอร์มาในไฮโดรโพนิกส์ของ รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง และของ คุณอรรถพร สุบุญสันต์ (
www.Phutalay.com )
pH ที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปเป็นปัญหาที่พบบ่อย ยกเว้นในกรณีที่ใช้เครื่องปรับ pHอัตโนมัติและเครื่องวัดนั้นได้รับการปรับเทียบมาตรฐานอยู่เสมอ
เนื่องจากผู้ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่ปรับ pH ด้วยมือ ปัญหานี้จึงยังมีความสำคัญอย่างมาก ระดับ pH มีผลกระทบต่อการดูดซึมธาตุอาหารของรากและการใช้ประโยชน์ของธาตุอาหารในพืช เช่น pH ที่สูงกว่า 7.5 ทำให้เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน และโมลิบดีนัมเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยลง pH ที่ต่ำกว่า 5.5 ที่อุณหภูมิค่อนข้างสูงเช่นสูงกว่า 26?C จะส่งเสริมการเกิดโรครากเน่า pH ต่ำทำให้เกิดการขาดแคลเซียม แต่ถ้า pH สูงเกินไปแคลเซียมและฟอสเฟตก็ตกตะกอนและไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยทั่วไปเพื่อการปลูกเลี้ยงดำเนินไป pH ของสารละลายจะเพิ่มขึ้น เราจำเป็นต้องปรับ pH ให้กลับตัวสู่ช่วงที่เหมาะสมอยู่เสมอ
**แต่ของผมทดลองโดยใช้น้ำบ่อวัดค่า ph ได้ประมาณ 6.5-6.6 หากพบปัญหาจะมาแชร์กันครับ ไม่มีการปรับค่า ph เพราะยังหาซื้อไม่ได้ ตอนนี้ก็ดูก่อนไปทำงานเช้า กลับมาตอนเย็นดูว่าใบสีปกติมั๊ย มีเหลืองมั๊ย มีใบเหี่ยวมั๊ย
**แล้วช่วงค่ำๆก็เช็คค่า EC ตอนนี้ปรับค่าอยู่ประมาณ 1.6-1.7 ถ้าช่วงร้อนๆไม่ควรให้ค่า EC เกิน 1.5 อ่านมาถ้า EC เยอะไปตอนอากาศร้อนพืชต้องการน้ำมากกว่าปุ๋ย ถ้าปุ๋ยเข้มไปทำให้การนำธาตุอาหารจากรากสู่ใบได้ยาก
ปลูกผักไร้ดินในฤดูร้อนแนวทางปฎิบัติในการดูแลแปลงผักในช่วงฤดูร้อน
ในช่วงฤดูร้อน อัตราการงอกของเมล็ดพืชแต่ละชนิดจะลดลงโดยเฉพาะผักสลัด เปอร์เซ็นต์การงอกอาจจะลดลงเหลือแค่ 30% - 50% เท่านั้น โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดสลัดคือ 20 - 25 องศา C (ดูรายละเอียดเพิมเติมเกี่ยวกับอุณหภูมิในการเพาะเมล็ดได้ที่ คลิ๊ก)
พลางแสงแปลงปลูกในช่วงเวลา ประมาณ 10.00 - 14.00 น. เพื่อลดการคายน้ำ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของรากพืช และเป็นการช่วยลดอุณหภูมิของน้ำในระบบปลูก โดยเลือกใช้แสลนพรางแสงไม่เกิน 50% หลีกเลี่ยงการใช้แสลนสีเขียวเพราะมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของพืช แนะนำให้ใช้แสลนสีดำเนื่องจากจะกรองแสงได้ดีกว่าสีอื่นๆ
การสเปรย์น้ำบริเวณแปลงปลูก เพื่อลดอุณหภูมิ และช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ โดยจะสเปรย์ ทุกๆ 10 นาที นานครั้งละ 30 - 40 วินาที บางช่วงเวลา ที่อุณหภูมิขึ้นสูงมาก ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิได้ประมาณ 3 - 6 องศา C หากมีการระบายอากาศดีจะช่วยได้มาก แต่ควรระวัง กรณีที่การระบายอากาศไม่ดี ถ้ามีหยดน้ำเกาะที่ใบผักมากเกินไป อาจทำให้เกิดเชื้อรา ที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุดได้
เพิ่มปริมาณออกซิเจนให้สารละลาย เช่นในระบบ NFT อาจใช้วิธีการเพิ่มความลาดเอียดของแปลงปลูก จาก 2% เป็น 3 - 5 % และในระบบ DRFT ใช้การลดระดับน้ำในแปลงปลูกลงเพื่อเพิ่มช่องว่างของรากอากาศให้พืช และอาจมีการใช้ปั๊มอากาศช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในถังเก็บสารละลายธาตุอาหารด้วยก็ได้
ระบบถังแยก ให้ใช้ฉนวนป้องกันความร้อนปิดหุ้มถังส่วนที่แดดส่องถึง และลดปริมาณน้ำในถังลงเพื่อเพิ่มความสูงของระยะการตกกระทบน้ำลงสู่ถัง
รักษาระดับอุณหภูมิของสารละลายธาตุอาหารอย่าให้สูงเกิน 30 องศาเซลเซียส จากงานวิจัยพบว่า สารละลายที่มีอุณหภูมิ 24 - 28 องศา C พืชจะมีการเจริญเติบโต และการดูดซึมธาตุอาหารขึ้นไปใช้งานได้ดีที่สุด
ปรับค่า pH ของสารละลายไปที่ 6.0 และลดค่า EC ลงให้ต่ำกว่าระดับเดิมที่เคยปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้รากพืชต้องทำงานหนักในช่วงที่อากาศร้อนและแสงแดดจัด เช่น เดิมเคยปลูกสลัดโดยใช้ค่า EC = 1.5 - 1.6 ก็ให้ลดลงเหลือประมาณ 1.2 ถึง 1.4 แทน และให้เสริมธาตุอาหารพืชทางใบแทนเพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหาร (บางฟาร์มอาจใช้เทคนิคนี้คือ ลดค่า EC ให้ต่ำๆ ในช่วงเวลากลางวัน และเพิ่มค่า EC ให้สูงในช่วงเวลากลางคืน)
ใช้ธาตุอาหารเสริมทางใบ ปุ๋ย C (แคลเซียม-โบรอนพลัส) เนื่องจากในฤดูร้อนพืชจะดูดซึมธาตุอาหารทางรากได้ไม่เต็มที่ จึงมักพบอาการขาดธาตุอาหารในช่วงฤดูร้อน (โดยเฉพาะผักในกลุ่มของสลัดต่างๆ) ดังนั้นจึงควรมีการเสริมธาตุอาหารโดยฉีดพ่นทางใบทุกๆ 5 - 7 วัน
ใช้ธาตุเหล็ก ที่สามารถทนค่า pH สูงๆ ได้ เช่น เหล็ก Fe-EDDHA ที่สามารถทนค่า pH ได้สูงกว่าเหล็กทั่วๆ ไป (เหล็ก EDDHA ทนค่า pH สูงสุดได้ประมาณ 10.0) เนื่องจากในฤดูร้อนค่า pH ในสารละลายจะเพิ่มสูงขึ้นเร็วมาก ถ้าหากค่า pH ในสารละลายสูงเกิน 7.0 นานติดต่อกันเกิน 3 วัน จะมีผลทำให้ธาตุเหล็ก และธาตุอาหารอื่นๆ โดยเฉพาะแมงกานีส ตกตะกอนจนพืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้งานได้
ใช้สูตรสารละลายธาตุอาหารที่มีโมโนแอมโมเนียมเป็นส่วนผสม ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการรักษาสมดุล pH ในช่วงฤดูร้อน ทำให้ไม่ต้องปรับค่า pH ในน้ำบ่อยๆ (เป็นการประหยัด pH Down)
ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ในถังเก็บสารละลายธาตุอาหารเพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นกับรากพืชในช่วงฤดูร้อน โดยใส่ทุก 7 - 14 วัน
รักษาค่า pH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมคือ 6.0 และปรับลดค่า EC ให้ต่ำลงกว่าระดับเดิมที่เคยปลูก เพื่อให้รากพืชทำงานได้ดีขึ้นเนื่องจากในฤดูร้อนพืชมีอัตราการคายน้ำสูง ทำให้พืชจะดูดน้ำทางรากเพื่อชดเชยการคายน้ำทางใบ หากค่า EC สูงมากเกินไปจะทำให้รากพืชดูดน้ำได้ลำบากจนทำให้พืชเกิดอาการเหี่ยวและเกิดอาการ Tip burn ได้ โดยปรับลดค่า EC สำหรับผักสลัดให้อยู่ในช่วง 1.2 - 1.4 ก็พอ
ตรวจดูแมลงศัตรูพืชต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนที่มักซ่อนตัวอยู่ใต้ใบ หากพบให้ใช้สารสกัดจากธรรมชาติฉีดพ่นเพื่อกำจัดและเป็นการป้องกันการระบาดต่อไป
ควรเปลี่ยนถ่ายสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ปลูกในถังเก็บทุกๆ 7 - 10 วัน เพื่อรักษาสมดุลของธาตุอาหารพืชในถังเก็บ

ในหน้าร้อนจะพบอาการ Tip burn บ่อยกว่าฤดูอื่น ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับพืชทุกชนิด โดยต้นเหตุของอาการ Tip burn เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมในพืช แต่โดยมากไม่ได้เกิดจากธาตุแคลเซียมในระบบปลูกไม่เพียงพอ แต่เกิดจากอัตราการดูดใช้ธาตุแคลเซียม ทางรากพืชต่ำ สาเหตุเกิดจากปัญหาของสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม คืออากาศร้อน, แสงแดดจัดเกินไป ทำให้สมดุลของการคายน้ำทางใบ กับการดูดน้ำและสารอาหารทางรากไม่สมดุลกัน ประกอบกับความเข้มข้นสารละลายหรือค่า EC ในระบบปลูกสูงเกินไป ทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้งานได้
ธาตุแคลเซียม เป็นธาตุอาหารที่ไม่เคลื่อนที่ไปสู่ส่วนยอดใบได้ด้วยตนเองต้องอาศัยการนำพาโดยธาตุอาหารอื่น กล่าวคือเมื่อพืชใช้แคลเซียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบของส่วนต่างๆในพืช เมื่อใดที่ปริมาณแคลเซียมในส่วนต่างๆของพืชไม่เพียงพอโดยเฉพาะที่ใบอ่อน หรือส่วนยอด อาการขาดแคลเซียมจะแสดงให้เห็นคือ มีการเจริญเติบโตผิดปกติ, ใบอ่อนจะโค้งงอลง, ขอบใบจะเป็นสีเหลือง และเมื่อขาดนานเข้าจะแสดงอาการใหม้เป็นสีน้ำตาลถึงดำ ซึ่งจะพบบ่อยมากในผักสลัด โดยเฉพาะสลัดกุล่มที่เข้าหัว เช่น คอสโรเมน, บัตเตอร์เฮด, ผักกาดแก้ว ฯลฯ
การให้ธาตุแคลเซียม ร่วมกับธาตุโบรอน ฉีดพ่นเสริมทางใบเพื่อเป็นการป้องกันและลดอาการ Tip burn ในพืชโดยฉีดพ่นในช่วงเย็น-ค่ำ แนะนำให้ใช้สารจับใบร่วมด้วยเพื่อการซึมผ่านของธาตุอาหารลงสู่เนื้อเยื้อของพืชในส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น (ดูข้อมูลสารจับใบเพิ่มเติม คลิ๊ก)
ปัจจัยที่ก่อให้เกิด Tip burn
1. อุณหภูมิของอากาศสูง มีแสงแดดจัด
2. มีลมร้อนและแห้งทำให้พืชมีอัตราการคายน้ำสูง
3. ค่า EC สารละลายสูงเกินไป ทำให้พืชนำพาธาตุอาหารและนำจากรากสู่ใบได้ยากขึ้น
4. สภาพรากพืชเจริญเติบโตและทำงานไม่ดีเนื่องจากรากขาดออกซิเจน (สาเหตุมาจากอุณหภูมิของสารละลายสูงเกินไป)
5. สารละลายธาตุอาหารมีปริมาณโพเทสเซียม (K+) และ แอมโมเนีย อิออน (NH4+) มากเกินไปเนื่องจากธาตุอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้จะไปยับยั้งการนำพาแคลเซียม (Ca++)
วิธีป้องกันการเกิด Tip burn
1. พลางแสงให้กับพืชเมื่ออุณหภูมิและแสงแดดจัดเกินไป
2. เลือกพันธุ์พืชที่ทนต่อการเกิด Tip burn ได้ดีเช่น แกรนด์แรปิดส์, เรดเซลส์, สลัดโอ๊คลีฟต่างๆ หรือเลือกปลูกผักไทยก็ได้
3. ปรับลดค่า EC อย่าให้สูงเกินไป โดยเฉพาะช่วงที่พืชมีการคายน้ำสูง (ช่วงกลางวัน)
โดยสลัดแนะนำให้ EC ไม่เกิน 1.5 ms/cm
4. ฉีดพ่นปุ๋ย C (แคลเซียม+โบรอน) เสริมทางใบเพื่อป้องกันและลดอาการขาดธาตุแคลเซียม
5. รักษาอุณหภูมิของสารละลายธาตุอาหารไม่ให้สูงเกินไปเนื่องจากมีผลต่อปริมาณอ๊อกซิเจน
จากการทดลองปลูกผักสลัดในระบบ NFT โดยในช่วงกลางวันมีการปรับค่าสารละลายธาตุอาหารพืชให้ค่า EC = 1.2 ถึง 1.4 และในเวลากลางคืนให้แคลเซียมไนเตรท Ca(NO3)2 ที่ความเข้มข้น 100 mg/l เสริมทางใบพบว่าการเกิดอาการ Tip burn ลดลงมากกว่าการให้เสริมในช่วงกลางวัน
ที่มา -
http://zen-hydroponics.blogspot.com/2013/02/blog-post.html