
สภาการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ หรือเรียกสั้นๆว่า “สภาการศึกษา” มีจุดเริ่มต้นมาจาก “สภามหาวิทยาลัยแห่งชาติ” โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาในฐานะยุทธศาสตร์สำคัญในการการพัฒนาประเทศได้ประกาศให้โอนกิจการและอำนาจหน้าที่ของ “สภามหาวิทยาลัยแห่งชาติ” มาจัดตั้งขึ้นใหม่เป็น “สภาการศึกษาแห่งชาติ” เนื่องจากปรารถนาที่จะ “จัดให้สภาการศึกษาแห่งชาติเป็นสภายิ่งใหญ่” เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาคนในชาติให้พร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
สภาการศึกษาแห่งชาติตามพระราชบัญญตินี้ มีหน้าที่สำคัญ 8 ประการได้แก่ 1. พิจารณาปรับปรุง วางแผนและโครงการการศึกษาแห่งชาติให้เหมาะสมแก่กาลสมัย และให้สอดคล้องกับแผนการเศรษฐกิจและการปกครอง
2. พิจารณาปัญหาต่างๆ ทางการศึกษา และเสนอวิธีการแก้ไข
3. พิจารณารายงานการศึกษา และวิจัยผลงานประจำปี
4. พิจารณาวางโครงการหาทุนบำรุงการศึกษา และเสนอแนะรัฐบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งทุนเพื่อการศึกษาระดับต่างๆ ตามความจำเป็น
5. พิจารณางบประมาฯประจำปีของมหาวิทยาลัย
6. พิจารณาการจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกล้มมหาวิทยาลัย
7. อนุมัติการจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกล้มคณะหรือแผนกวิชาในมหาวิทยาลัย
8. พิจารณาและให้ความเห็นชอบการวางหลักสูตรในมหาวิทยาลัย
เข้าใช้งานฐานข้อมูลการวิจัยhttp://www.thaiedresearch.org/thaied/